สูตรทำขนมไทย ยอดฮิต
ขนมไทย เป็นเมนูที่มีสีสันน่ารับประทานมาก อีกทั้งยังมีรสชาติที่หวาน หอม อร่อย ต้นกำเนิดของขนมไทยถูกสันนิษฐาน มีมาตั้งแต่ยังใช้ชื่อเดิมคือ สยาม เพราะสมัยนั้นมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน แต่ในสมัยนั้นจะไม่ได้ใช้ไข่มาเป็นส่วนผสมหลัก แต่จะใช้เป็นเพียงข้าวโม่หรือการนำข้าวไปตำและผสมกับน้ำตาลหรือมะพร้าวเพื่อทำให้เกิดความหวาน
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทยเลยทีเดียว เพราะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก โดยช่วงนั้นท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ได้เข้ามาสอนสูตรวิธีการทำขนมไทยโดยใช้ไข่ในการทำเพื่อเพิ่มรสชาติและเนื้อสัมผัสให้มีอร่อยมากขึ้น ทำให้มีการเผยแพร่กันอย่างแพร่หลาย และยังเป็นที่นิยมในการนำไข่เพื่อมาทำขนมในปัจจุบัน
1.ทองหยิบ
ทองหยิบถูกนำมาเผยแพร่ในประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยนั้น ปัจจุบันคนนิยมนำมาทานเล่น หรือใช้ในพิธีมงคลต่างๆ เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีบวช เป็นต้น เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยเสริมสิริมงคล และทองหยิบยังมีความหมายนัยสื่อถึงการหยิบจับสิ่งใดก็เป็นเงินเป็นทอง
ส่วนผสม
|
ปริมาณ
|
---|---|
น้ำตาลทราย
|
1,400 กรัม
|
น้ำเปล่า
|
1,200 กรัม
|
ใบเตยมัด
|
10 ใบ
|
ไข่แดงไข่เป็ด
|
8 ฟอง
|
ไข่แดงไข่ไก่
|
6 ฟอง
|
ขั้นตอนการทำทองหยิบ
- เริ่มทำน้ำเชื่อมเข้มข้น โดยการตั้งเตา ใส่น้ำเปล่าลงไป 800 กรัม จากนั้นตามด้วยน้ำตาลทราย 1000 กรัม และใบเตย 5 มัด รอให้เข้าที่
- นำไข่แดงเป็ดและไก่มากรองในผ้าขาวบาง และใช้ตะกรอง กรองอีกรอบ และใช้เครื่องตีไข่ตีให้เข้ากัน
- เริ่มทำน้ำเชื่อมใส โดยการตั้งเตา ใส่น้ำเปล่าลงไป 400 กรัม จากนั้นตามด้วยน้ำตาลทราย 400 กรัม และใบเตย 5 มัด รอให้เข้าที่
- นำช้อนตักใข่ที่ทำไว้ใส่ในน้ำเชื่อมเข้มข้น ให้เป็นรูปวงกลม
- เสร็จแล้วนำมาใส่ในน้ำเชื่อมใสที่เตรียมไว้
- นำมาจัดใส่ในถ้วยให้เป็นรูปคล้ายดอกไม้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
2.ทองหยอด
ทองหยอดจัดเป็นอีกหนึ่งขนมที่มีความนิยมมาก ลักษณะรูปร่างของทองหยอด จะมีรูปร่างเป็นวงกลม หรือวงรี ทำให้ค่อนข้างรับประทานง่าย เด็กๆ ชอบทานเพราะมีสีสันสวยงาม ดึงดูดสายตา ทองหยิบยังมีความหมายมงคลอีกด้วย คือหมายถึงการมีเงินทองใช้ไปไม่รู้จักจบสิ้น ทำให้กลายเป็นขนมมงคลที่คนนิยมใช้ในงานสำคัญต่างๆ อาทิเช่น งานบวช เป็นต้น
ส่วนผสม
|
ปริมาณ
|
---|---|
แป้งข้าวเจ้าอบควันเทียน
|
90 กรัม
|
น้ำตาลทราย
|
1,400 กรัม
|
น้ำเปล่า
|
1,200 กรัม
|
ใบเตยมัด
|
10 ใบ
|
ไข่แดงไข่เป็ด
|
8 ฟอง
|
น้ำลอยดอกมะลิ
|
400 กรัม
|
เปลือกไข่เป็ด
|
2 ฟอง
|
ขั้นตอนการทำทองหยอด
- ตั้งกระทะใช้ไฟกลางใส่ใบเตยลงไป 4-5 ใบ น้ำลอยมะลิและน้ำตาลทรายขาว 400 กรัม เคี่ยวให้เข้ากันโดยไม่ต้องคน พอละลายเตรียมร้อยแล้ว พักไว้จนน้ำเชื่อมเย็นสนิท
- ตีไข่แดงทั้งหมดให้เข้ากันและใส่แป้งข้าวเจ้าอบควันเทีย ค่อยๆใช้ไม้ตีผสมให้เข้ากันอย่างเบามือ พักทิ้งไว้
- มาทำน้ำเชื่อมข้น เทน้ำตาลทราย 1000 กรัมลงไป ตามด้วยเปลือกไข่เป็ด ขย้ำให้เข้ากัน และตามด้วยน้ำลอยดอกมะลิ ¼ ช้อนชา ตามด้วยใบเตย 5 ใบ เคี่ยวด้วยไฟกลางค่อนไปทางอ่อน ทิ้งไว้ไม่ต้องคน พอมีฟองขึ้นน้ำเชื่อมให้ใช้ช้อนตักไข่ที่ตีไว้เมื่อสักครู่ หลอดลงไปทีละลูกก็เป็นอันเสร็จสิ้น
3. เม็ดขนุน
เม็ดขนุนมีลักษณะรูปร่างคล้ายชื่อเรียกเลย คือมีลักษณะเป็นวงรีคล้ายกับเม็ดขนุน และส่วนผสมหลักของขนมชนิดนี้ทำมากจากถั่วเขียว ซึ่งทำให้มีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากขนมไทยอื่นๆ ที่ทั้งเม็ดขนุน ยังถูกทำไปไว้ในงานสำคัญต่างๆมากมาย เพราะมีความหมายที่สื่อถึงการมีคนคอยสนับสนุน เกื้อกูล ให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ
ส่วนผสม
|
ปริมาณ
|
---|---|
ถั่วเขียวเลาะเปลือก
|
250 กรัม
|
หัวกะทิ
|
250 กรัม
|
เกลือป่น
|
1 ช้อนชา
|
ไข่แดงไข่เป็ด
|
10 ฟอง
|
น้ำตาลทราย
|
1,400 กรัม
|
น้ำเปล่า
|
1,200 กรัม
|
น้ำลอยดอกมะลิ
|
400 กรัม
|
ขั้นตอนการทำเม็ดขนุน
- แช่น้ำถั่วเขียวเลาะเปลือกทิ้งไว้ประมาณ 5 ชั่วโมง และนำไปล้างน้ำ 2 รอบ
- จากนั้นนำไปนึ่งในรังผึ้งที่ห่อด้วยผ้าขาวบาง นึ่งน้ำเดือดจัดไฟแรง 20 นาที พอสุกแล้ว นำไปบดให้ละเอียด
- ตั้งไฟกลาง ใส่ถั่วที่นึ่งเสร็จแล้วลงให้กระทะ ตามด้วย น้ำตาลทรายขาว 150 กรัม เกลือป่นครึ่งช้อน และหัวกระทิ 250 กรัม ให้เข้ากันโดยต้องคนตลอด จนเป็นเนื้อเดียวกัน และปรับไฟให้เป็นไฟอ่อน และกวนให้เข้ากันจนไม่ติดกระทะ จากนั้นปิดแก๊ส พักไว้ให้เย็นสนิท
- ตั้งกระทะทำน้ำเชื่อมใสโดยใช้ไฟกลาง ใส่น้ำตาลทราย 500 กรัม น้ำเปล่า 5 มล. และใบเตย 5 ใบ คนให้เข้ากัน จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำตาลละลาย จึงปิดแก๊ะ และใส่น้ำอบดอกมะลิ 200 กรัม พักทิ้งไว้
- นำถั่วกวนที่พักทิ้งไว้มานวดให้เมีความเย็น และนำมาปั้นขึ้นรูปให้เป็นเม็ดขนุน
- ต่อมาทำน้ำเชื่อมข้น ใส่น้ำตาลทรายลงไป 1 กิโลกรัม น้ำเปล่า 800 มล. ใบเตย 5 ใบ และกลิ่นมะลิ 200 กรัม จากนั้นเปิดไฟกลาง คนให้เข้ากันเล็กน้อย เคี่ยวไปเรื่อยๆ จนน้ำเชื่อมขึ้นฟอง
- นำไข่แดงเป็ดมารีดด้วยผ้าขาวบาง และกรอก 1 รอบ คนให้เข้ากันเล็กน้อย
- กลับมาดูที่น้ำเชื่อมข้น หยิบใบเตยออก จากนั้นปิดเเก๊ส และนำถั่วที่ปั่น ชุบกับไข่ที่ตีไว้เมื่อสักครู่ จากนั้น หยอดลงไปในน้ำเชื่อมข้น ปล่อยให้เซ็ทตัวสักครู่ จากนั้นเปิดไฟอ่อน ทิ้งไว้ 2 นาที จากนั้นตักมาพักไว้ในน้ำเชื่อมใสก็เป็นอันเสร็จสิ้น
4. ฝอยทอง
ฝอยทอง มีลักษณะเป็นเส้นเรียงตัวกันคล้ายรังนก รสชาติหวาน และสีเหลืองน่ารับประทาน และชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำเชื่อม โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวรู และมีการถูกนำไปใช้ในวาระสำคัญต่างๆเช่น งานบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น นอกจากนี้ฝอยทองยังจัดเป็นขนมที่มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่าหากได้รับประทาน จะทำให้มีอายุยืนยาว ดั่งเส้นฝอยทอง
ส่วนผสม
|
ปริมาณ
|
---|---|
ไข่แดงเป็ด
|
15 ฟอง
|
กลิ่นมะลิ
|
1 ขวด
|
น้ำตาลทราย
|
1,000 กรัม
|
ตะเกียบ
|
1 คู่
|
ไม้จิ้มฟัน
|
1 คู่
|
ถุงสามเหลี่ยม
|
1 ใบ
|
ขั้นตอนการทำฝอยทอง
- นำไข่แดงมาคนให้เข้ากัน กรอกด้วยผ้าขาวบาง
- เจาะถุง 3 เหลี่ยม โดยใช้ไม้จิ้มฟันเจาะที่ปลายถุง มัดปากถุงไว้ก่อนจากนั้นเติมไข่แดงที่ทำไว้ช่วงแรก และมัดปากถุงปิดอีกครั้ง
- ตั้งเตากระทะ ใส่น้ำตาล 1 กิโล และน้ำเปล่า 1 ลิตร ลงไปต้มให้เดือด จากนั้นใส่กลิ่นมะลิ 3-4 หยด
- ตัดเศษฟองออก และในไข่ที่ใส่ในถุงมาปล่อยสายให้วนไปให้เป็นเส้นๆโดยทำจากเป็นวงกลมด้านนอกเข้าข้างใน
- นำตะเกียบมาคนให้เส้นเรียงตัวกันให้สวย พักไว้ในตะแกรงก็เป็นอันเสร็จสิ้น