10 สิ่งที่ต้องตรวจสอบก่อนเซ้งร้าน !!
ในปัจจุบันคนหลายคนก็อยากมีธุรกิจซึ่งแน่นอนว่าการเริ่มต้นด้วยตัวเองทั้งหมดอาจจะเป็นเรื่องยากและทำเลดีๆ ก็มักจะมีเจ้าของหรือมีร้านตั้งอยู่ก่อนแล้ว ทำให้หากใครอยากได้ทำเลที่ดีการเซ้งกิจการก็อาจถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะนอกจากจะได้กิจการไปแล้วก็ยังได้พื้นที่และทำเลตรงนั้นอยู่ด้วยนั่นเอง
เซ้งกิจการคืออะไร
การเซ้งกิจการ ก็ไม่ต่างกับการซื้อกิจการต่อจากคนอื่น หรือก็คือการเปลี่ยนเจ้าของกิจการนั่นเอง โดยในการเซ้งกิจการ จะมีการเช่าพื้นที่ที่ตั้งกิจการจากเจ้าของเดิมให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของใหม่ที่ได้ทำการเซ้งกิจการด้วยนั่นเอง
ข้อมูลที่ต้องตรวจสอบก่อนการเซ้งกิจการ
ก่อนที่เราจะไปเซ้งกิจการ ต่อจากคนอื่นหรือเจ้าของกิจการเดิมก็มีหลายสิ่งที่เราควรตรวจสอบดูเพราะหากเราไปเซ้งต่อกิจการที่ดีการจะทำกิจการต่อก็จะเป็นเรื่องง่ายและนอกจากนั้นปัจจุบันยังมีการหลอกลวงหรือการโกงอยู่มากมาย
ทำให้การตรวจสอบก่อนที่จะทำการเซ้งกิจการถือเป็นหนึ่งในเรื่อง ที่สำคัญมาก นอกจากนั้นหากเราตรวจสอบให้ถี่ถ้วนแล้วในหลายๆจุดเราก็ยังสามารถนำข้อมูลไปต่อรองเรื่องราคากับเจ้าของกิจการเดิมก็เป็นได้
1. ตรวจสอบสัญญาเช่าให้ครบถ้วน
การตรวจสอบสัญญาเช่าถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญมาก กิจการที่เซ้งอาจไม่ได้มีสัญญาเช่าที่ชัดเจนและนอกจากนั้นในสัญญาอาจมีข้อกำหนดหรือข้อห้ามต่างๆทำให้หากเราไม่ตรวจสอบสัญญาเช่าให้ชัดเจนแล้ว อาจเจอปัญหาตามมาก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่นกิจการที่ไม่มีสัญญาณเช่า สัญญาที่ห้ามเช่าช่วง หรือไม่อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อผู้เช่า
2. ตรวจดูค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาต่างๆ
ก่อนการทำสัญญาใดๆเราอาจจำเป็นต้องตรวจดูค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้งบบานปลายเพิ่มมากยิ่งขึ้นและนอกจากนั้น อาจเกิดปัญหาต่างๆตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าเปลี่ยนชื่อในสัญญา หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งก่อนการทำสัญญาก็ควรพูดคุยแล้วตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายว่าจะออกกันยังไงก่อนการทำสัญญา
3.ตรวจสอบอุปกรณ์หรือสิ่งที่ได้จากการเซ็ง
แน่นอนว่าก่อนการเซ้งกิจการเราก็ควรจะตรวจสอบดูว่าอุปกรณ์หรือสิ่งที่เราได้จากการเซ้งมีอะไรบ้าง นอกจากนั้นเราก็ต้องตรวจสอบดูว่าอุปกรณ์เหล่านั้นมีสภาพเป็นอย่างไร ซึ่งการตรวจสอบนั้นช่วยให้เราได้รับรู้ว่าสิ่งที่เราได้นั้นมันคุ้มค่าคุ้มราคาหรือเปล่า
ตัวอย่างเช่นหากเราจะเซ้งร้านแล้วได้ตู้เย็นเก่า กว่า 20 ปีแล้ว แน่นอนว่าสภาพมันอาจจะไม่ได้ดี เราก็อาจจะเอาสิ่งเหล่านี้ไปต่อรองขอลดราคาลงก็เป็นได้
4.ตรวจดูกิจการที่จะเซ้ง
การตรวจดูกิจการที่จะเซ้งก็ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญมากเพราะ จะทำให้เรารู้ว่ากิจการที่เรากำลังจะเซ้งนั้นมีลูกค้าเข้าออกอยู่ประมาณเท่าใดและด้วยการนี้ประกอบกิจการกันอย่างไรหรือประกอบกิจการกันแบบไหน
โดยวิธีการตรวจดูกิจการก็ไม่ยาก เพียงแค่เราเดินเข้าไปนั่งดูในร้านหรือสังเกตการณ์อยู่ดูว่าร้านทำอย่างไร ประกอบกิจการแบบไหน และมีลูกค้าเข้าออกเพียงใด เราอาจตรวจดูกิจการ โดยใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงถึงหลายๆวันก็เป็นได้ ซึ่งแน่นอนว่าก่อนที่เราจะไปนั่งตรวจสอบดูในร้านเราก็ควรขออนุญาตเจ้าของกิจการก่อน
5. สอบถามสาเหตุที่เซ้งร้าน
การสอบถามสาเหตุที่เซ้งก็ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่เราต้องสอบถามและตรวจสอบก่อนเพราะการสอบถามสาเหตุที่เซ้งเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายโดยใช้เวลาไม่นานแต่ถือเป็นหนึ่งในข้อมูลที่สำคัญ
ด้วยสิ่งนี้จะทำให้เรารู้ถึงสาเหตุที่เจ้าของเซ้งกิจการโดยสาเหตุก็อาจจะมีมาจากหลายข้อแต่ถ้าเป็นสาเหตุที่ไม่ดีตัวอย่างเช่น ขาดทุน รอบกิจการทำเลเปลี่ยนไปและไม่ดีเหมือนเดิม ไม่มีพนักงาน วัตถุดิบแพงขึ้นหรืออื่นๆก็อาจจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่จะทำให้เราตัดสินใจได้ว่าจะเซ้งหรือไม่เซ้งกิจการดี
แต่แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจที่อยากจะเซ้งกิจการก็อาจจะไม่บอกสาเหตุจริงๆหรือไม่บอกสาเหตุทั้งหมดทำให้สิ่งนี้เราอาจจะต้องหาข้อมูลประกอบเพิ่มเติมก็เป็นได้
6.ตรวจดูเช่า
แน่นอนว่าหลังจากเซ้งร้านเราก็ยังต้องจ่ายค่าเช่าอีกอยู่ดีทำให้ค่าเช่าค่าถือเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่เราต้องตรวจสอบดูให้ละเอียด เพราะในบางครั้งหลังจากเซ้งร้านเป็นจำนวนมากแล้วเรา อาจจะต้องจ่ายค่าเช่าเป็นจำนวนมากอีกด้วย
7.สอบถามวิธีการประกอบกิจการ
ก่อนที่เราจะเซ้งกิจการการสอบถามวิธีการประกอบกิจการก็ถือเป็น สิ่งที่ดีและสำคัญมากเพราะในบางครั้งการพูดและอธิบายเพียงเวลาสั้นๆก็ไม่อาจจะทำให้เราเข้าใจวิธีการประกอบกิจการนั้นได้แต่อาจจะต้องมีการสอนและช่วยฝึก
ทำให้ก่อนเซ้งกิจการก็อาจจะต้องเขียนสัญญาเรื่องการช่วยสอนวิธีการประกอบกิจการและอาจจะต้องขอองค์ความรู้เก่าๆจากกิจการเดิม หรือ Connection ต่างๆของเจ้าของกิจการเดิม
หลายๆเรื่องอาจเป็นเรื่องที่ง่ายๆแต่หากไม่รู้ก็อาจสร้างปัญหาได้มากมาย และแน่นอนว่าในปัจจุบันนอกจากวิธีการประกอบกิจการแล้ว ข้อมูลต่างๆก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก
ตัวอย่างเช่นกลุ่มลูกค้าที่มาร้าน ช่วงเวลาที่ลูกค้ามาเยอะ แหล่งซื้อวัตถุดิบหรือจำนวนวัตถุดิบที่ต้องสต๊อกไว้ ข้อมูลเหล่านี้หากเปิดกิจการมานานๆก็คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะตอบได้ แต่สำหรับคนที่เพิ่งเซ้งมาแล้วข้อมูลเหล่านี้ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ตอบได้ยาก
8.ตรวจดูพนักงาน
ไปหลายๆธุรกิจก็จำเป็นต้องใช้พนักงานเป็นจำนวนมากทำให้ได้หลายร้านที่เซ้งก็จะมีพนักงานเก่า ที่มีความสามารถหรือที่มีฝีมืออยู่ แน่นอนว่าหากเราเซ้งร้านมาต่อจากเจ้าของกิจการเดิมเราก็เลือกได้ว่าจะจ้างพนักงานเก่าอยู่หรือจะไม่จ้างพนักงานเก่าก็ได้
สำหรับกิจการที่ต้องใช้คนจำนวนมากแล้วการจ้างพนักงานเก่าที่มีความสามารถและฝีมือก็ถือเป็นสิ่งที่ดีและในความเป็นจริงก็มีกิจการมากมายที่ต้องเจ๊งไปเพราะไม่มีพนักงานมาช่วยทำ ทำให้ในบางครั้ง กิจการขนาดใหญ่ถึงปานกลางที่มีพนักงานเก่าอยู่ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการพิจารณา
9. ตรวจสอบรายได้ของกิจการ
แน่นอนว่ารายได้ของกิจการเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะหากกิจการมีรายได้เยอะและมีกำไรมากโดยปกติแล้วกิจการเหล่านี้ก็จะรอดและสามารถทำต่อได้
ทำให้การตรวจสอบรายได้ของกิจการที่เรากำลังจะเซ้งก็เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญ เพราะหากเราตรวจสอบรายได้ของกิจการที่กำลังจะเซ้งผลปรากฏว่าขาดทุนย่อยยับ เราก็อาจจะกลับลำไม่เซ้งแล้วก็เป็นได้
10. ตรวจสอบรายจ่ายของกิจการ
การตรวจสอบรายจ่าย แน่นอนว่าก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญเพราะกิจการที่มีรายจ่ายเยอะต่อให้มีรายได้เป็นจำนวนมากสำหรับบางคนก็อาจจะไม่ได้น่าสนใจ
ยกตัวอย่างเช่นร้านหมูกระทะย่านทำเลดีที่มียอดขายเดือนละ 2 แสนบาท แต่มีรายจ่ายกว่า 150,000 บาทต่อเดือน แน่นอนว่าหากพูดว่าร้านนี้มีกำไรเดือนละ 50,000 บาทต่อเดือนก็ถือว่าดูดี ซึ่งหากดูรายจ่ายแล้วพบว่ารายจ่ายส่วนมากเป็นแบบ Fixed Cost ที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ นั้นหมายถึงว่า หากเดือนไหนหรือช่วงไหนกำไรไม่ดีรายจ่ายต่างๆก็ไม่อาจจะลดลงได้นั่นเอง
ข้อดีของการซื้อกิจการที่เซ้ง
1. สามารถทำกิจการต่อได้ทันที
สามารถทำกิจการต่อได้ทันที โดยหากเราเซ้งร้านต่อจากเจ้าของกิจการเดิมเราก็อาจสามารถทำกิจการต่อจากเจ้าของเดิมได้ทันที ซึ่งหากเราเริ่มต้นธุรกิจเองในบางครั้งกว่าจะเริ่มหรือกว่าจะสามารถทำธุรกิจได้ก็อาจจะต้องใช้เวลาสักพักหนึ่ง
2. ได้ลูกค้าต่อจากธุรกิจเดิม
ได้ลูกค้าต่อจากธุรกิจเดิม ลูกค้าหรือลูกค้าประจำหากเป็นร้านที่เปิดมานานๆก็มีความเป็นไปได้สูงว่าจะมีสิ่งเหล่านั้นทำให้ลูกค้าเดิมถือเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก โดยหากเราใช้กิจการต่อจากกิจการเดิมแล้วก็มีความไม่ได้สูงว่าเราจะได้ลูกค้าเดิมของเจ้าของธุรกิจเก่า
3. ได้ข้อมูลต่างๆจากเจ้าของเดิม
ได้ข้อมูลต่างๆจากเจ้าของเดิม ข้อมูลก็ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญและมีค่ามากโดยหากเราเซ้งกิจการมาแล้วเราก็อาจจะสอบถามข้อมูลหรือขอข้อมูลจากเจ้าของกิจการเดิมไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่เกิดขึ้นจริง ยอดขายของร้าน กำไรของร้าน หรือปัญหาต่างๆ ด้วยสิ่งเหล่านี้ทำให้เราอาจสามารถคาดการณ์ในอนาคตในเรื่องต่างๆได้
ตัวอย่างเช่นหากร้านก่อนที่จะเซ้งมียอดขายอยู่ที่เดือนละ 100,000 บาทและมีกำไรตกเดือนละ 30,000 บาท เราก็อาจจะคาดการณ์ได้ว่าหลังจากที่เราเซ็งเราก็อาจจะมีกำไรใกล้เคียงกับกำไรเดิมนั่นเอง
4. ได้ทำเลที่ต้องการ
ได้ข้อมูลต่างๆจากเจ้าของเดิม ข้อมูลก็ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญและมีค่ามากโดยหากเราเซ้งกิจการมาแล้วเราก็อาจจะสอบถามข้อมูลหรือขอข้อมูลจากเจ้าของกิจการเดิมไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่เกิดขึ้นจริง ยอดขายของร้าน กำไรของร้าน หรือปัญหาต่างๆ ด้วยสิ่งเหล่านี้ทำให้เราอาจสามารถคาดการณ์ในอนาคตในเรื่องต่างๆได้
ตัวอย่างเช่นหากร้านก่อนที่จะเซ้งมียอดขายอยู่ที่เดือนละ 100,000 บาทและมีกำไรตกเดือนละ 30,000 บาท เราก็อาจจะคาดการณ์ได้ว่าหลังจากที่เราเซ็งเราก็อาจจะมีกำไรใกล้เคียงกับกำไรเดิมนั่นเอง
ข้อเสียของการซื้อกิจการที่เซ้ง
1. อาจโดนหลอก
อาจโดนหลอก งานเซ็งร้านหรือการเซ้งกิจการต่อจากคนอื่นนั้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะโดนหลอกในเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นการทำสัญญา ข้อมูลปลอมหรือข้อมูลเท็จ ตัวอย่างเช่นก่อนเซ้งบอกว่ากำไรเดือนละแสนแต่พอไปทำจริงๆขาดทุนกระจาย ก็เป็นไ
2. ราคาที่แพงเกิน
ราคาที่แพงเกิน แน่นอนว่าการเซ้งก็มีแบบที่ราคาถูกและเซ้งแบบที่ราคาแพงในหลายๆธุรกิจการมีลูกค้าประจำหรือการที่มียอดขายดี หากร้านเหล่านั้นเซ้งก็อาจจะสามารถตั้งราคาได้แพง ซึ่งแน่นอนว่าในการตั้งราคาในบางครั้งหลายๆร้านก็ตั้งราคาแพงมาก ทำให้การเปิดร้านใหม่อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
3. อุปกรณ์หรือสิ่งที่ได้เก่าและไม่คุ้มราคา
อุปกรณ์ที่เก่า ในหลายๆร้านที่เซ้งร้านและกิจการ ก็มักจะได้อุปกรณ์และร้านของเจ้าของธุรกิจเดิมมาด้วยซึ่งสิ่งเหล่านั้นก็มักจะบวกไปพร้อมกับราคาที่เซ้งแต่แน่นอนว่าในบางครั้งอุปกรณ์เหล่านั้นก็เก่าและไม่เหมาะกับการนำมาใช้ต่อสักเท่าใด