เมนู

รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู 30 สถานีและเชื่อมที่ไหนบ้าง ?

แผนผังรถไฟฟ้าสายสีชมพู

หากใครต้องการจะเดินทางไปแถบมีนบุรี บอกได้เลยต้องมีเหตุเพราะโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู  ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร มีจะช่วยทำให้การเดินทางไปกรุงเทพฯรอบนอกสะดวกสบายขึ้นเป็นอย่างมากนอกจากนั้นรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพูยังทำให้การเดินทางไปหลายๆ ที่สะดวกสบาย  วันนี้เราขอแนะนำ 30 สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพูและจุดเชื่อมต่อต่างๆ 

รถไฟฟ้าสายสีชมพู
สถานีของรถไฟฟ้าสายสีชมพู่   
ที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู่ 

PK01 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

สถานีต้นทางอยู่ริมถนนรัตนาธิmเบศร์ บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีและบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วง บางใหญ่-บางซื่อ

PK02 สถานีแคราย

อยู่บนถนนติวานนท์ บริเวณด้านหน้าสถาบันทรวงอก

PK03 สถานีสนามบินน้ำ

อยู่บนถนนติวานนท์ใกล้กับสามแยกสนามบินน้ำ

PK04 สถานีสามัคคี

อยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้ทางแยกเข้าถนนสามัคคี ระหว่างคลองบางตลาดกับถนนสามัคคี

PK05 สถานีกรมชลประทาน

ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้โรงเรียนชลประทานวิทยา

PK06 สถานีแยกปากเกร็ด

ตั้งบริเวณหัวมุมทางแยกปากเกร็ด ก่อนเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ

PK07 สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด

ตั้งบนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์และโฮมโปร ก่อนถึงทางแยกเลี่ยงเมืองปากเกร็ด

PK08 สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28

ตั้งบนถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28

PK09 สถานีศรีรัช

ตั้งบนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35 ก่อนถึงทางด่วนศรีรัช ใกล้หมู่บ้านเมืองทองธานี

PK10 สถานีเมืองทองธานี

ตั้งบนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าสำนักงานซ่อมบำรุงกรมทางหลวงและห้างแม็คโครซุปเปอร์สโตร์ แจ้งวัฒนะ

PK11 สถานีแจ้งวัฒนะ 14

ตั้งบนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างบิ๊กซีแจ้งวัฒนะและซอยแจ้งวัฒนะ 14

PK12 สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ

ตั้งบนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ากรมการกงศุล ใกล้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

PK13 สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ

ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 และซอยแจ้งวัฒนะ 7

PK14 สถานีหลักสี่

ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดถนนแจ้งวัฒนะและถนนวิภาวดีรังสิตสามารถเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ทางเดินยกระดับลอยฟ้า (Skywalk)

PK15 สถานีราชภัฏพระนคร

สถานีสุดท้ายบนถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

PK16 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

ตั้งบริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ด้วยทางเดินยกระดับลอยฟ้า (Skywalk)

PK17 สถานีรามอินทรา 3

สถานีแรกบนถนนรามอินทราตั้งอยู่บริเวณหน้าโครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ และศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก

PK18 สถานีลาดปลาเค้า

ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราระหว่างซอยรามอินทรา 21 และซอยรามอินทรา 23 ใกล้กับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า

PK19 สถานีรามอินทรา กม.4

ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ระหว่างซอยรามอินทรา 33 และซอยรามอินทรา 37

PK20 สถานีมัยลาภ

ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราหน้าปากซอยรามอินทรา 41 ใกล้กับสามแยกมัยลาภ

PK21 สถานีวัชรพล

ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ถัดจากทางพิเศษฉลองรัช บริเวณซอยรามอินทรา 59 และซอยรามอินทรา 61

PK22 สถานีรามอินทรา กม.6

ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 40 และซอยรามอินทรา 42

PK23 สถานีคู้บอน

ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 69 และซอยรามอินทรา 46

PK24 สถานีรามอินทรา กม.9

ตั้งบนถนนรามอินทรา ใกล้กับโรงพยาบาลสินแพทย์ ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 54 และซอยรามอินทรา 56

PK25 สถานีวงแหวนรามอินทรา

ตั้งบนถนนรามอินทราถัดจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ใกล้แฟชั่นไอส์แลนด์ และ The Promenade

PK26 สถานีนพรัตน์

ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้ซอยรามอินทรา 103/1 และโรงพยาบาลนพรัตน์

PK27 สถานีบางชัน

ตั้งอยู่บนถนนบริเวณซอยรามอินทรา 113 และซอยรามอินทรา 115

PK28 สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

ตั้งบนถนนรามอินทราใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ระหว่างซอยรามอินทรา 121 และ ซอยรามอินทรา 123

PK29 สถานีตลาดมีนบุรี

สถานีแรกบนถนนสีหบุรานุกิจ ตั้งบริเวณหน้าตลาดนัดจตุจักร 2

PK30 สถานีมีนบุรี

ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหง บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงของระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ ใกล้กับถนนรามคำแหง เป็นสถานีปลายทางของโครงการ และสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี ได้ด้วยทางเดินยกระดับลอยฟ้า (Skywalk)

ข้อมูลเพิ่มเติมของ MRT รถไฟฟ้าฝ่ายสีชมพู

  • เป็นระบบรางเดียว วิ่งด้วย ความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง  รองรับผู้โดยสารสูงสุดได้ประมาณ 28,000 คน/ทิศทาง
  • ความปลอดภัยของระบบ  มีระบบความปลอดภัยสูงได้รับการออกแบบมาให้ความเสี่ยงต่อการตกรางเกิดขึ้นได้น้อยที่สุดและไม่มีโอกาสชนกับระบบขนส่งรูปแบบอื่น 
  • โครงสร้างผลิตจากวัสดุที่เป็นฉนวน ในกรณีที่เกิดไฟไหม้จะหยุดอัตโนมัติที่สถานีปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : www.mrta-pinkline.com